วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การบันทึกประจำวัน

ประจำวันที่  06/02/2556  คาบที่  14

กิจกรรม

-การจัดกิจกรรม 6 กิจกรรมหลักของเด็ก




การบันทึกประจำวัน

ประจำวันที่  30/01/2556  คาบที่  13

กิจกรรม

-อาจารย์ประกาศเรื่องกิจกรรมภายในเอกมีกำหนดการดังนี้

10/02/2556  -ช่วงเช้ามีงานกีฬาประจำเอก
-ช่วงเย็นมีงานบายเนียร์ 

-ทางคณะศึกษาศาสตร์จัดให้แต่ละเอกคิดว่า การจัดงานแบบใดที่สะท้อนตัวตนและเป็นการแสดงศักยภาพของเอกปฐมที่ดีที่สุด
เพื่อนๆเสนอแนวคิดดังนี้ 
1.บมบาทสมมุติ
2.นิทานเวที
3.นิทรรศการณ์สื่อ
4.เล่นดนตรี
5.งานศิลปะ
6.ร้องเพลง
7.เล่านิทาน
8.เล่นเกมส์
9.รำ
10.เต้น

อาจารย์ได้แบ่งออกเป็น
กิจกรรมที่ไม่ใช้สื่อ
-ร้องเพลง
-รำ
-เต้น
-นิทาน
-เกมส์
-บทบาท
กิจกรรมที่ใช้สื่อ
-นิทานเวที
-ดนตรี
-ศิลปะ
-สื่อ


การบันทึกประจำวัน

ประจำวันที่  23/01/2556  คาบที่  12

กิจกรรม

-อาจารย์อธิบายเกี่ยวกับเรื่อง 

การเรียนรู้-ประสบการณ์-เนื้อหา-สาระ-ความรู้


งาน
ให้นักศึกษาจับกลุ่มกัน 4-5 คน แล้วช่วยกันคิดเกีี่ยวกับ การทำหน่วยการเรียนรู้ในแต่ละวัน โดยรวมแล้วทั้งหมด 5 วันด้วยกัน








การบันทึกประจำวัน

ประจำวันที่  16/01/2556  คาบที่  11

กิจกรรม

ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจาก เป็นไหว้ครู


การบันทึกประจำวัน

ประจำวันที่  9/01/2555 คาบที่  10

กิจกรรม

-อาจารย์แนะนำวิธีการใช้ภาพแทนจำนวน โดยบูรณาการกับการที่ใช้แผ่นป้ายรายงานตัว โดยการให้นักเรียนเมื่อมาเรียนแล้ว ให้นำชื่อของตัวเองมาใส่ไว้ในช่องของตน เพื่อให้นักเรียนรู้ว่า วันนี้มีนักเรียนมาเรียนทั้งหมดกี่คน และคนที่ไม่มามีกี่คนเป็นการสอดแทรกเนื้อหาคณิตศาสตร์ลงไปตั้งแต่เด็กๆ 
-ยกตัวอย่างกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์ที่เริ่มตั้งแต่เด็กๆเดินเข้าโรงเรียนไป เช่น  ปฏิทินการมาโรงเรียน การใช้ภาพสัญลักษณ์แทนค่าน้ำหนักและส่วนสูงของเด็กๆเป็นแผนภูมิแท่ง
-ความสัมพันธ์สองแกน คือ โดยการเพิ่งความต่อเนื่องของรูปภาพ จะต้องมีพื้นฐานการจับคู่ที่ดี
-ส่งงาน




ผลงานชื่อ "ทรงกลมแสนสนุก"






ประจำวันที่  02/01/2556  คาบที่  9

เนื่องจากนักศึกษามีจำนวนมาน้อย อาจารย์จึงให้นักศึกษาไปทำงานที่อาจารย์สั่งไว้มาส่งในคาบหน้า



ประจำวันที่  26/12/2555  คาบที่  8

ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นวันสอบกลางภาค



การบันทึกประจำวัน


ประจำวันที่  19/12/2555 คาบที่  7

กิจกรรม
-อาจารย์ให้นักศึกษาส่งงานที่ตัดกระดาษลังเป็นวงขนาดต่างๆ

ผลงานของดิฉัน

-การที่ให้เพื่อนๆนำงานไปส่งเพื่อสังเกตว่าเด็กๆมีพัฒนาการอย่างไร เช่น การที่เเพื่อนๆวางแยกสีและเรียงลำดับขนาด
-กิจกรรมในครั้งนี้เน้นตระหนักว่า เด็กมีการทำเลีนแบบ เช่น จากการที่เห็นเพื่อนคนแรกวางงานแบบใด เพื่อนคนต่อมาก็วามตามแบบนั้น และการเป็นครูปฐมวัยจะต้องรู้จักการบูรณาการวิชาการต่างๆเข้าด้วยกัน
-การที่เพื่อนส่งงานไม่ถูกต้องจากการที่นำกระดาษแข็งมาทำแทนกระดาษลัง ทำให้นักศึกษาต้องคิดว่า จะต้องคิดว่าอะไรที่สามารถนำมาทำทดแทนคล้ายกับกระดาษลังได้ เป็นการให้นักศึกษารู้จักคิดวิธีการแก้ปัญหา
-มาตรฐาน นักศึกษาคิดถึงอะไรได้บ้างที่เห็นได้ในชีวิตประจำวัน ? 
      เช่น  การสอบ  ตัวชี้วัด  คุณภาพ  สถานศึกษา  
มาตรฐาน  คือ  สิ่งที่บอกว่าสิ่งนั้นควรผ่านมาตรฐานในเกณฑ์มาตรฐานให้ได้
-คณิต และ ภาษา เป็นเครื่องมือที่นำไปใช้ในการเรียนรู้
-คำว่า"กรอบ"นักศึกษาคิดถึงอะไร?
      เช่น  ขอบเขต  ข้อจำกัด
***ภายใน 10 นาที  แสดงว่าเป็นการสอนให้เด็กรู้จักวิธีการคิดให้คล่องแคล่วและว่องไว

-การวัด แบบไม่เป็นมมาตรฐาน
เช่น  พระอาทิตย์  ไก่ขัน ดูดอกบัว  เป็นการสังเกตธรรมชาติ
-แบบกึ่งมาตรฐาน
เช่น  กะลา  นาฬิกาทราย
-แบบเป็นมาตรฐาน
เช่น  นาฬิกา

งาน
   ให้นักศึกษาค้นคว้าหารูปภาพที่มีส่วนประกอบเป็นวงกลมทั้งหมด ต้องมีสมาชิก 3 คน ใช้กระดาษลัง หรือ กระดาษแข็ง ที่มีสีสันหลากหลาย และเขียนนขั้นตอนในการเล่นด้วย


ประจำวันที่  12/12/2555 คาบที่ 6

กิจกรรม

-อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละคนออกมาหยิบกล่องคนละกล่อง

-ให้นักศึกษารวมกลุ่มกัน 10 คน แล้วนำกล่องที่ตนเองได้มาคิดว่าจะประกอบกันเป็นตัวอะไรก็ได้

ผลงานของกลุ่มดิฉันคือ หุ่นยนตร์



ผลงานของเพื่อนๆ


-เมื่อเสร็จของกลุ่มตนเองแล้ว อาจารย์ให้นักศึกษาจัดนิทรรศการณ์ โดยการนำสิ่งที่แต่ละกลุ่มประดิษฐ์ออกมามารวบรวมกันเป็นเรื่องราว


ผลงานที่ออกมามีเนื้อหาเกี่ยวกับ การเดินทางผ่านสวนสาธารณะ ที่มีแต่สิ่งสวยงามต่างๆมากมาย





ประจำวันที่  5/12/2555  คาบที่  5

เป็นวันหยุดราชการเน่องจากเป็นวัน พ่อแห่งชาติ
วันพ่อแห่งชาติ 2556
วันพ่อแห่งชาติ
วันพ่อแห่งชาติ 2556
วันพ่อแห่งชาติ
     พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกมหาสมาคม ณ สีหบัญชร พระที่นั่งอนันตสมาคม เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ครบรอบ 85 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม 2555 

     พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกมหาสมาคม ณ สีหบัญชร พระที่นั่งอนันตสมาคม พสกนิกรทุกหมู่เหล่าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ชื่นชมพระบารมีและแสดงความจงรักภักดีเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา


09.55 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเสด็จพระราชดำเนินออกจากโรงพยาบาลศิริราช พร้อมพระบรมวงศานุวงศ์ ประชาชนรอรับเสด็จเนืองแน่น เปล่งเสียง "ทรงพระเจริญ" ตลอดเส้นทางพระราชดำเนิน

10.25 น. รถยนต์พระที่นั่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พร้อมพระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จพระราชดำเนินถึงพระที่นั่งอนันตสมาคม

10.29 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พร้อมพระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จเข้า สีหบัญชร พระที่นั่งอนันตสมาคม

10.37 น. สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมงกุฎราชกุมารฯ เสด็จเฝ้าละอองธุลีพระบาท บริเวณหน้าสีหบัญชร พระที่นั่งอนันตสมาคม

10.42 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จออกมหาสมาคม ณ สีหบัญชร พระที่นั่งอนันตสมาคม

10.44 น. สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมงกุฎราชกุมารฯ กล่าวถวายพระพรชัยมงคล ในนามบรมวงศานุวงศ์ บริเวณหน้าสีหบัญชร พระที่นั่งอนันตสมาคม
วันพ่อแห่งชาติ

10.49 น. นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวถวายพระพรชัยมงคล ในนามข้าราชการ รัฐมนตรีและประชาชน บริเวณหน้าสีหบัญชร พระที่นั่งอนันตสมาคม

10.52 น. นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา กล่าวถวายพระพรชัยมงคล ในนามสมาชิกรัฐสภาและสมาชิกผู้แทนราษฎร บริเวณหน้าสีหบัญชร พระที่นั่งอนันตสมาคม

10.56 น. นายไพโรจน์ วายุภาพ ประธานศาลฎีกา กล่าวถวายพระพรชัยมงคล ในนามราชข้าการฝ่ายตุลาการ บริเวณหน้าสีหบัญชร พระที่นั่งอนันตสมาคม

10.59 น. พลอากาศเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร ผู้บัญชาการทหารสูงสุด พร้อมทั้งทหารทุกหน่วยเหล่า ถวายสัตย์ปฏิญาณตน ต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

11.04 น.
 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระราชดำรัสตอบ ณ สีหบัญชร พระที่นั่งอนันตสมาคม


วันพ่อแห่งชาติ

11.09 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และพระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จออกมหาสมาคม ณ สีหบัญชร พระที่นั่งอนันตสมาคม ประชาชนเปล่งเสียง "ทรงพระเจริญ" ดังกึ่งก้อง

11.24 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเสด็จพระราชดำเนินกลับที่ประทับ โรงพยาบาลศิริราช
 

วันพ่อแห่งชาติ 2556 ประวัติความเป็นมาความสำคัญของวันพ่อ 

    พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (ราชบัณฑิตยสถาน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 หน้า 587) พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายคำว่า “พ่อ” ไว้ดังนี้
     พ่อ หมายถึง ชายผู้ให้กำเนิดแก่ลูก, คำที่ลูกเรียกชายผู้ให้กำเนิดตน
     ในทางพุทธศาสนา ได้ให้ความหมายของคำว่า “พ่อ” หมายถึง ชายผู้ให้กำเนิดแก่ลูกมีใช้หลายคำ เช่น
         
     - บิดา (พ่อ)
     - ชนก (ผู้ให้กำเนิด)
     - สามี (ผัวของแม่) เป็นต้น
     วันพ่อแห่งชาติ  5 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทางราชการได้กำหนดให้เป็นวันหยุดราชการหนึ่งวัน เพื่อให้ประชาชนชาวไทย ได้ร่วมกันเฉลิมฉลองในวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและถือเป็นวันพ่อแห่งชาติ อีกวันหนึ่งด้วย
      วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหรือวันพ่อแห่งชาติ มีความเป็นมาของวันสำคัญ คือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระราชสมภพเมื่อ วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 ณ โรงพยาบาล เมาท์ ออเบิร์น นครบอสตัน สหรัฐอเมริกา โดยนายแพทย์วิทท์มอร์เป็นผู้ถวายการประสูติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเป็นรัชกาลที่ 9 แห่งบรมจักรีวงศ์ กรุงรัตนโกสินทร์ ทรงประกอบพระราชกรณียกิจและเจริญพระราชจริยาวัตรเป็นเอนกประการจำเนียรกาลผ่านมาถึงปัจจุบันที่สุดจะพรรณนาให้ครบถ้วนได้ท่ามกลางมหาสมาคมวันพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษกทรงมีกระแสพระราชดำรัสที่ พสกนิกรทุกคนยังจดจำได้ “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม” อันคำว่าโดย “ธรรม” นั้น ทรงหมายถึง ธรรมอันล้ำเลิศที่เรียกว่า “ทศพิธราชธรรม” หรือที่เรียกกันโดยสามัญว่า “ราชธรรม 10 ประการ”
วันพ่อแห่งชาติ 2554 
พระที่นั่งอัมรินทรวินิจฉัย พระบรมมหาราชวัง 
     ราชธรรม 10 ประการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงยึดมั่นทรงปฎิบัติโดยเคร่งครัด และส่งผลถึงพสกนิกรทั่วพระราชอาณาจักรนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเหนือเกล้าฯ ห่วงใยตั้งแต่พระเยาว์จนถึงปัจจุบัน รวมทั้งพระเจ้าหลานเธอทุกพระองค์ต่างซาบซึ้งและปลาบปลื้มในพระมหากรุณาธิคุณอย่างมิรู้ลืม พระองค์ทรงเป็น “พ่อ” ตัวอย่างของปวงชนชาวไทยที่เปี่ยมล้นด้วยพระเมตตากรุณา ทรงห่วงใยอย่างหาที่เปรียบมิได้
     “...บ้านเมืองของเราเป็นปึกแผ่นร่มเย็นปกติสุขมาช้านาน เพราะเรามีความยึดมั่นในชาติและต่างร่วมมือร่วมแรงร่วมใจกันทำหน้าที่โดยนึกถึงประโยชน์ส่วนรวมของชาติเป็นเป้าหมายสำคัญสูงสุด ท่านทั้งหลายในสมาคมนี้ ตลอดจนคนไทยทุกหมู่เหล่า จึงควรทำความเข้าใจในหน้าที่ของตนไว้ให้กระจ่างและนำไปปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด ด้วยความไม่ประมาท และด้วยความมีสติ…”
      (พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้าฯถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม ณ พระที่นั่งอัมรินทรวินิจฉัย พระบรมมหาราชวัง) 
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นพุทธศาสนิกชนที่มีพระราช<a href=http://www.dmc.tv/search/ศรัทธา title='ศรัทธา' target=_blank><font color=#333333>ศรัทธา</font></a>ใน<a href=http://www.dmc.tv/search/พระพุทธศาสนา title='พระพุทธศาสนา' target=_blank><font color=#333333>พระพุทธศาสนา</font></a>เป็นที่ยิ่ง 
พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงได้รับสมญานามจากพระราชอุปัชฌาจารย์ ว่า “ภูมิพโล”  
        พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นพุทธศาสนิกชนที่มีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นที่ยิ่ง เมื่อพุทธศักราช 2499 มีพระราชประสงค์ที่จะทรงพระผนวชในพระบวรพุทธศาสนาตามโบราณราชประเพณี นายกรัฐมนตรีได้กราบบังคมทูลพระกรุณาขอรับพระราชภาระสนองพระเดชพระคุณในการทรงพระผนวชในนามของรัฐบาลและประชาชนชาวไทยและได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้แต่งตั้งสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ด้วยความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร

     ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้ทรงพระผนวชในพระบวรพุทธศาสนา 15 วัน ระหว่างวันที่ 22 ตุลาคม - 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499

กิจกรรมที่ควรปฎิบัติในวันพ่อแห่งชาตินี้

      1. ในวันพ่อแห่งชาติเราควรประดับธงชาติไทยที่อาคารบ้านเรือน

      2. จัดพิธีศาสนสงฆ์ ทำบุญใส่บาตร อุทิศเป็นพระราชกุศล น้อมเกล้าฯ ถวายพระพรชัยมงคล

     3. จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล

ความเป็นมาของวันพ่อแห่งชาติ  

      วันพ่อแห่งชาติ ได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2523 โดยคุณหญิงเนื้อทิพย์ เสมรสุต นายกสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษาเป็นผู้ริเริ่มหลักการและเหตุผลในการจัดตั้งวันพ่อแห่งชาติ พ่อเป็นผู้มีพระคุณที่มีบทบาทสำคัญต่อครอบครัวและสังคม สมควรที่ผู้เป็นลูกจะเคารพเทิดทูนตอบแทนพระคุณด้วยความกตัญญู และสมควรที่สังคมจะยกย่องให้เกียรติรำลึกถึงผู้เป็นพ่อ จึงถือเอาวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปีซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาเป็น “วันพ่อแห่งชาติ” ด้วยพระมหากรุณาธิคุณ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยอย่างนานัปการ ทรงเป็นพระราชบิดาของพระราชโอรสและพระราชธิดา ทรงรักใคร่และให้ดอกพุทธรักษาเป็นสัญลักษณ์ วันพ่อแห่งชาติ

ทุกบุปผา มาลัยคือใจราษฎร์ ภักดีบาทองค์บพิตรเป็นนิจสิน
พระ คือ บิดาข้าแผ่นดิน ร่วมร้อยรินมาลัยถวายพระพร
ลุ 5 ธันวามหาราช “วันพ่อแห่งชาติ” คือองค์อดิศร
พระเปี่ยมล้นด้วยเมตตาเอื้ออาทร พสกนิกรเป็นสุขทุกคืนวัน 


    
ด้วยพ่อเป็นบุคคลผู้มีพระคุณ มีบทบาทสำคัญต่อครอบครัวและสังคม สมควรที่ผู้เป็นลูกจะเคารพ เทิดทูน และตอบแทนพระคุณด้วยความกตัญญู และสังคมควรที่จะยกย่องให้เกียรติรำลึกถึงผู้เป็นพ่อนี่เป็นที่มาของการจัดให้มี วันพ่อแห่งชาติ
วันพ่อแห่งชาติตรงกับวันเฉลิมพระชนพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
วันพ่อแห่งชาติหรือวันเฉลิมพระชนพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

5 ธันวาวันพ่อแห่งชาติ  

      5 ธันวาคมของทุกปี ซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชและยังเป็นวันพ่อแห่งชาติ เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฐานะพ่อแห่งชาติ อีกทั้งทรงเป็นพ่อตัวอย่างของปวงชนชาวไทย ที่เปี่ยมล้นด้วยพระเมตตากรุณา ทรงบำเพ็ญคุณานุประโยชน์แก่ประเทศชาติ และประชาชน ทรงพระมหากรุณาทะนุบำรุงขจัดทุกข์ผดุงสุขพสกนิกรถ้วนหน้า พระองค์ทรงเป็น พ่อแห่งชาติที่อาณาประชาราษฎร์เทิดทูนด้วยความจงรักภักดี สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และยึดมั่นในการเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาทในการทะนุบำรุงชาติบ้านเมืองให้ วัฒนาถาวรสืบไป ซึ่งมีวัตถุประสงค์ของวันพ่อแห่งชาติ 4 ประการ คือ
1.       เพื่อเทิดทูนพระเกียรติคุณของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

2.       เพื่อเทิดทูนพระคุณของพ่อ และยกย่องบทบาทของพ่อที่มีต่อครอบครัวและสังคม
3.       เพื่อให้ลูกได้แสดงความกตัญญูกตเวทีต่อพ่อ
4.       เพื่อให้ผู้เป็นพ่อ สำนึกในหน้าที่และความรับผิดชอบของตน  
วันพ่อแห่งชาติ ในประเทศไทยตรงกับวันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี
วันพ่อแห่งชาติ ในประเทศไทยตรงกับวันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี
ดอกไม้ประจำวันพ่อแห่งชาติ
     วันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปีเป็นวันพ่อแห่งชาติ กำหนดขึ้นครั้งแรก ในปี 2523 และ กำหนดให้ ดอกพุทธรักษาสีเหลือง เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ประจำวันพ่อแห่งชาติ
วันพ่อแห่งชาติมีดอกพุทธรักษาเป็นสัญลักษณ์ประจำ
ดอกพุทธรักษาสีเหลือง เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ประจำวันพ่อแห่งชาติ
     “พุทธรักษา” ซึ่งหมายถึง พระพุทธเจ้าทรงปกป้องคุ้มครอง ให้มีแต่ความสงบสุขร่มเย็น ซึ่งมีเรียกกันมากว่า 200 ปี และสีเหลืองอันเป็นสีประจำวัน พระราชสมภพขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ของปวงชนชาวไทย การมอบดอกพุทธรักษาให้กับพ่อ จึงเสมือนกับการบอกถึง ความรักและเคารพบูชาพ่อ ผู้สร้างความสงบสุขร่มเย็นให้แก่ครอบครัว
     คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นพุทธรักษาไว้ประจำบ้านจะช่วยปกป้องคุ้มครอง ไม่ให้มีเหตุร้ายหรืออันตรายเกิดแก่บ้านและผู้อาศัย เ
บทบาทของพ่อ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสรุปบทบาทหน้าที่ของพ่อและแม่ไว้ 5 ข้อ

1.       กันลูกออกจากความชั่ว
2.       ปลูกฝังลูกไว้ในทางที่ดี
3.       ให้ลูกได้รับการศึกษาเล่าเรียน
4.       ให้ลูกได้แต่งงานกับคนดี

5.       มอบทรัพย์มรดกให้เมื่อถึงการณ์อันควร
วันพ่อแห่งชาติของแต่ละประเทศจะแตกต่างกันออกไป

วันพ่อแห่งชาตินั้นทั่วโลกจะมีการจัดแตกต่างกันไป โดยในประเทศไทยจัดตรงกับวันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี
     ในส่วนของพ่อเองก็ต้องตั้งใจฝึกตนเองให้ดี ให้เป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูกให้ได้  หาเวลามาทำกิจกรรมร่วมกัน จะได้มีเวลาแนะนำอบรมสั่งสอนกันเพื่อครอบครัวจะได้ เป็นครอบครัวอบอุ่น โดยในวันพ่อที่จะถึงนี้ ก็ขออวยพรให้คุณพ่อทุกท่านมีความสุข ดูแลลูกๆ และอยู่กับลูกๆ ไปตราบนานเท่านาน


ประจำวันที่ 28/11/2555 คาบที่ 4

กิจกรรม

-อาจารย์อธิบายเกี่ยวกับเรื่องขอบข่ายของคณิตศาสตร์ ดังนี้

ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัยไว้ดังนี้1. การนับ เป็นคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จัก เป็นการนับอย่างมีความหมาย เช่น การนับตามลำดับตั้งแต่ 1ถึง 10 หรือมากกว่านั้น
2. ตัวเลข เป็นการให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน ให้เด็กเล่นของเล่นเกี่ยว กับตัวเลขให้เด็กได้นับและคิดเอง โดยผู้เลี้ยงดูเด็กเป็นผู้วางแผนจัดกิจกรรม
3. การจับคู่ เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกต ลักษณะต่างๆ และจับคู่สิ่งที่เข้าคู่กัน เหมือนกันหรือ อยู่ประเภทเดียวกัน
4. การจัดประเภท เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตคุณสมบัติของ สิ่งต่างๆ ว่ามีความแตกต่าง หรือเหมือนกัน ในบาง เรื่อง และสามารถจัดเป็นประเภทต่าง ๆ ได้
5. การเปรียบเทียบ เด็กจะต้องมีการสืบเสาะและอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างของสองสิ่งหรือมากกว่า รู้จักใช้คำศัพท์ เช่น ยาวกว่า สั้นกว่า หนักกว่า เบากว่า
6. การจัดลำดับ เป็นเพียงการจัดสิ่งของชุดหนึ่ง ๆ ตามคำสั่งหรือตามกฎ เช่น จัดบล็อก 5 แท่งที่มีความยาวไม่เท่ากันให้เรียงตามลำดับจากสูงไปต่ำ หรือจากสั่นไปยาง เป็นต้น
7. รูปทรงและเนื้อที่ นอกจากให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องรูปทรงและเนื้อที่จากการเล่นตาม ปกติแล้ว ผู้เลี้ยงดูเด็กยังต้องจัดประสบการณ์ให้เด็กได้เรียนรู้ เกี่ยวกับ วงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า ความ ลึกตื้น กว้างและแคบ
8. การวัด มักให้เด็กลงมือวัดด้วยตนเอง ให้รู้จักความยาวและ ระยะ รู้จักการชั่งน้ำหนัก และรู้จักการประมาณอย่างคร่าวๆ ก่อน ที่เด็กจะรู้จักการวัด ควรให้เด็กได้ฝึกฝนการเปรียบเทียบและ การจัดลำดับมาก่อน
9. เซต เป็นการสอนเรื่องเซตอย่างง่าย ๆ จากสิ่งรอบ ๆ ตัว มีการเชื่อมโยงกับสภาพรวม เช่น รองเท้ากับถุงเท้าถือเป็นหนึ่งเซต หรือในห้องเรียนมีบุคคลหลายประเภท แยกเป็นเซตได้ 2 เซต คือ นักเรียน ผู้เลี้ยงดูเด็กประจำชั้น เป็นต้น
10. เศษส่วน ปกติการเรียนเศษส่วนมักเริ่มเรียนในชั้นประถม แต่ผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยสามารถสอนได้โดยเน้นส่วนรวมให้เด็กเห็นก่อน การลงมือปฏิบัติเพื่อให้เด็กได้เข้าใจความหมายและมีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับครึ่งหรือ ?
11. การทำตามแบบหรือลวดลาย เป็นการพัฒนาให้เด็กจดจำรูปแบบหรือลวดลาย และพัฒนาการจำแนกด้วยสายตาให้เด็กฝึกสังเกต ฝึกทำตามแบบ และต่อให้สมบูรณ์
12. การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ ช่วงวัย 5 ปีขึ้นไป ผู้เลี้ยงดูเด็กอาจเริ่มสอนเรื่องการอนุรักษ์ได้บ้าง โดยให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง เพื่อให้เด็กมีความคิดรวบยอดเรื่องการอนุรักษ์ที่ว่า ปริมาณของวัตถุจะยังคงที่ไม่ว่าจะย้ายที่หรือทำให้มีรูปร่างเปลี่ยนไปก็ตาม











  


วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การบันทึกประจำวัน

ประจำวันที่ 21/11/2555 คาบที่ 3

กิจกรรม
-อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม 3-4 คน เพื่อทำงานกลุ่มในหัวข้อ ความหมายของคณิตศาสตร์ หลักการ  ขอบข่าย และนักทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ แล้วให้แต่ละคนสรุปความหมายของเพื่อนในกลุ่มเดียวกัน พร้อมเขียนที่มาของความหมายนี้ด้วย

-สรุปความหมายของวิชาคณิตศาสตร์

 ราชบัณฑิตยสถาน  (2530 : 99)  ได้ให้ความหมายไว้ว่า  “คณิตศาสตร์เป็นวิชาว่าด้วยการคำนวณ”  ซึ่งมีความหมายที่ทำให้เรามองเห็นคณิตศาสตร์อย่างแคบ  มิได้รวมถึงขอบข่ายของคณิตศาสตร์  ซึ่งเรายอมรับกันในปัจจุบัน
                        สมทรง  สุวพานิช  (2541 : 4-5)  ได้ให้ความหมายของคณิตศาสตร์ดังนี้
                        1.     คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่เกี่ยวกับความคิดที่ใช้คณิตศาสตร์เป็นเครื่องพิสูจน์อย่างมีเหตุผลว่า  สิ่งที่เราคิดคำนึงเป็นจริงหรือไม่  สามารถนำไปแก้ปัญหาในทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและอุตสาหกรรมต่าง ๆ
                        2.     คณิตศาสตร์เป็นภาษาอย่างหนึ่ง  คณิตศาสตร์เป็นลักษณะภาษาสื่อความหมายได้ชัดเจน  เช่น  5 + 3  =  8 คณิตศาสตร์เป็นภาษาซึ่งผู้เชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสื่อสารซึ่งกันและกัน  ถ้าไม่มีคณิตศาสตร์จะไม่มีเครื่องจักรเครื่องยนต์และเครื่องไฟฟ้าแน่นอน
                        3.     คณิตศาสตร์มีลักษณะเป็นวิทยาศาสตร์  โดยสร้างแบบจำลองและศึกษาความสัมพันธ์ของปรากฏการณ์ต่าง ๆ ในธรรมชาติ  เช่น  เรขาคณิตแบบยูคลิค  ปรากฎการณ์ทางพันธุกรรม  สามารถอธิบายได้ในเชิงคณิตศาสตร์  โดยใช้เมตริกซ์  การเพิ่มของประชากรสามารถอธิบายในเชิงคณิตศาสตร์โดยใช้เลขยกกำลัง  เป็นต้น  ความมีลักษณะเป็นวิทยาศาสตร์ของคณิตศาสตร์นั้นเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปดังเช่น  “คณิตศาสตร์เป็นราชินีของวิทยาศาสตร์”
                        4.     คณิตศาสตร์มีลักษณะเป็นวิชาตรรกวิทยา  เป็นวิชาที่ว่าด้วยเหตุผลและศึกษาระบบ  ซึ่งสร้างโดยอาศัยข้อตกลงใช้เหตุผลตามลำดับขั้น  คือทุกขั้นตอนเป็นเหตุเป็นผลต่อกันมีความสัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ออก  เราจะเห็นว่าคณิตศาสตร์นั้นเริ่มต้นด้วยเรื่องง่าย ๆ  และอธิบายข้อคิดต่าง ๆ  ที่สำคัญ  ซึ่งเริ่มต้นด้วยอธิบายจุด  เส้นตรง  ระนาบ  เรื่องอันเป็นพื้นฐานเหล่านี้นำไปสู่เรื่องต่อไป  การศึกษาเกี่ยวกับการใช้เหตุผลนั้นมีประโยชน์มหาศาล
                        5.     คณิตศาสตร์เป็นศิลปะอย่างหนึ่ง  เช่นเดียวกับศิลปะอย่างอื่น  ความหมายของคณิตศาสตร์คือ  ความมีระเบียบและความกลมกลืนที่เกิดขึ้นภายใน  นักคณิตศาสตร์พยายามแสดงออกถึงค่าสูงสุดของชีวิตความสัมพันธ์และแสดงโครงสร้างใหม่ ๆ  ทางคณิตศาสตร์ส่งผลให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
                        มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช  (2537  :  5)  กล่าวว่าคณิตศาสตร์  เป็นคำแปลมาจาก  Mathematics   หมายถึง   “สิ่งที่เรียนรู้หรือความรู้”  เมื่อพูดถึงคำว่าคณิตศาสตร์คนทั่วไปมักเข้าใจ  ว่าเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับตัวเลข  เป็นศาสตร์ของการคำนวณและการวัด  การใช้สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์เป็นภาษาสากลเพื่อความหมายและเข้าใจได้
                        จากที่กล่าวมาสรุปได้ว่า  คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่เกี่ยวกับการคำนวณ  เป็นวิชาที่เน้นในด้านความคิด  ความเข้าใจ  ในเรื่องราวเกี่ยวกับตัวเลขและเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้เรียนคิดอย่างมีเหตุผลใช้ในการสื่อความหมาย  เป็นประโยชน์และเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน


-ที่มาความหมายของคณิตศาสตร์
ราชบัณฑิตยสถาน  (2530 : 99)
สมทรง  สุวพานิช  (2541 : 4-5) 
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช  (2537  :  5) 

-สรุปหลักการทางคณิศาสตร์

ทำไมต้องเรียนคณิตศาสตร์
คณิตศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาความคิดมนุษย์ ทำให้มนุษย์มีความคิดสร้างสรรค์   คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ มีแบบแผน สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์ได้อย่างถี่ถ้วน รอบคอบ ช่วยให้คาดการณ์ วางแผน ตัดสินใจ แก้ปัญหา และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม  นอกจากนี้คณิตศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือในการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและศาสตร์อื่น ๆ  คณิตศาสตร์จึงมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข  ( หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 : 1 )

-ที่มาหลักการทางคณิศาสตร์
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 : 1

-สรุปขอบข่ายทางคณิตศาสตร์
 ยุพิน  พิพิธกุล   (2524 : 1-2)   ได้สรุปลักษณะสำคัญของคณิตศาสตร์ไว้ดังนี้
                        1.     คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับการคิดและมีการพิสูจน์อย่างมีเหตุผลว่าสิ่งที่คิดเป็นจริงหรือไม่
                        2.     คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่มีโครงสร้างที่มีเหตุผล  ใช้อธิบายข้อคิดต่าง ๆ ที่สำคัญได้ เช่น  สัจพจน์  คุณสมบัติ  กฎ ทำให้เกิดความคิดที่เป็นรากฐานในการพิสูจน์เรื่องอื่น ๆ ต่อไป
                        3.     คณิตศาสตร์เป็นภาษาอย่างหนึ่งที่ใช้สัญลักษณะที่รัดกุมและสื่อความหมายได้ถูกต้องโดยใช้ตัวอักษรแสดงความหมายแทนความคิด  เป็นเครื่องมือที่ใช้ฝึกทางสมอง  ซึ่งสามารถช่วยให้เกิดการกระทำในการคิดคำนวณ  การแก้ปัญหา
                        4.     คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่มีแบบแผน  ในการคิดคำนวณทางคณิตศาสตร์นั้นต้องคิดอยู่ในแบบแผน  และมีรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการคิดในเรื่องใดก็ตามทุกขั้นตอนจะตอบได้และจำแนกออกมาให้เห็นจริงได้
                        5.     คณิตศาสตร์เป็นศิลปะอย่างหนึ่ง  ความงามของคณิตศาสตร์คือ  มีความเป็นระเบียบและกลมกลืน  นักคณิตศาสตร์ได้พยายามแสดงความคิดเห็นใหม่ ๆ    และแสดงโครงสร้างใหม่ทางคณิตศาสตร์ออกมา  ปัจจุบันคณิตศาสตร์มีบทบาทมากกว่าอดีต  และมีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันมากยิ่งขึ้น  ทางด้านสังคมวิทยาก็ต้องอาศัยความรู้ทางสถิติ  นักธุรกิจก็ต้องใช้ความรู้และหลักการทางคณิตศาสตร์ช่วยคิดคำนวณผลผลิตต่าง ๆ
                        จะเห็นได้ว่า  คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง  เป็นเครื่องมือการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาต่าง ๆ ในอันที่จะดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข  ซึ่งจำเป็นจะต้องได้รับการพัฒนาให้ถูกต้องตั้งแต่ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
                        พิศมัย  ศรีอำไพ  (2533  :  1-2)  ได้เพิ่มแนวคิดเกี่ยวกับคณิตศาสตร์  ดังนี้
                        1.     คณิตศาสตร์เป็นการศึกษาถึงกระบวนการความสัมพันธ์
                        2.     คณิตศาสตร์เป็นวิถีทางการคิด  ช่วยให้เรามีกลยุทธ์ในการจัดวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล
                        3.     คณิตศาสตร์เป็นศิลปะให้ความซาบซึ่ง  ความงดงามและความต่อเนื่องของคณิตศาสตร์
                        4.     คณิตศาสตร์เป็นภาษาสากล  เพราะคนทั่วไปสามารถเข้าใจประโยคคณิตศาสตร์ได้ตรงกัน
                        5.     คณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือที่นักคณิตศาสตร์และนักวิทยาศาสตร์ใช้และเป็นสิ่งที่ทุกคนใช้ในชีวิตประจำวัน
-สรุปที่มาขอบข่ายทางคณิตศาสตร์
ยุพิน  พิพิธกุล   (2524 : 1-2) 
พิศมัย  ศรีอำไพ  (2533  :  1-2)

-สรุปนักทฤษฎีทางคณิตศาสตร์
โยฮันน์ คาร์ล ฟรีดริช เกาส (1777-1855) นักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมัน เป็นตำนานหนึ่งในนักคณิตศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ (นักคณิตศาสตร์บางท่านกล่าวว่าสี่ผู้ยิ่งใหญ่ของวงการคณิตศาสตร์มี อาร์คิมิดีส นิวตัน เกาส์ และออยเลอร์) ได้รับฉายาว่า "เจ้าชายแห่งคณิตศาสตร์" (Prince of Mathematics)
อันเดรย์ นิโคลาเยวิช คอลโมโกรอฟ (1903-1987)โดยมีผลงานโดดเด่นมากในงาน ทฤษฎีความน่าจะเป็นและทอพอโลยี. อันที่จริงแล้ว คอลโมโกรอฟมีผลงานในแทบทุกแขนงของคณิตศาสตร์ เช่น ตรรกศาสตร์, อนุกรมฟูเรียร์, ความปั่นป่วน (turbulence), กลศาสตร์คลาสสิก นอกจากนี้ยังเป็นหนึ่งในผู้คิดค้น ความซับซ้อนแบบคอลโมโกรอฟ ร่วมกับ เกรโกรี ไชตัง และ เรย์ โซโลโมนอฟ ในช่วงช่วงปี ค.ศ. 1960 ถึง ค.ศ. 1970.
จอห์น เฮอร์เชล (John Herschel)นักคณิตศาสตร์ และดาราศาสตร์ชาวอังกฤษ เป็นผู้คิดค้นกระบวนการไซยาโนไทป์ (Cyanotype) ที่เป็นต้นแบบของกระบวนพิมพ์เขียว (Blue Print) ที่พัฒนาต่อกันมาใช้ในการทำสำเนาแบบพิมพ์เขียว หรือกระดาษคาร์บอนพิมพ์ดีด ที่ใช้กันในปัจจุบันนี้ นอกจากนั้นยังเป็นผู้บัญญัติศัพท์ที่ใช้ในทางการถ่ายภาพ คือคำว่า "photograph" "negative" และ "positive"

ภาพกิจกรรมภายในห้องเรียน







ประจำวันที่  14/11/2555 คาบที่ 2

กิจกรรม

- อาจารย์แจกกระดาษให้นักศึกษาคนละแผ่น แล้วให้นักศึกษาวาดรูปอะไรก็ได้แทนตัวเรา พร้อมเขียนชื่อเราข้างล่างภาพ

- เมื่อวาดรูปเสร็จ ให้นักศึกษานำรูปไปติดที่หน้ากระดาน



- ใครที่มาก่อนเวลา 08:30 น. ให้นำรูปภาพมาติดก่อนเส้นที่อาจารย์กำหนดให้

- กิจกรรมนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ บอกให้นักศึกษารู้ว่า คณิตศาสาตร์มีในชีวิตประจำวันของเราตลอดเวลา เด็กๆสามารถรู้ รูปทรง รูปร่าง ขนาด การจำแนกหมวดหมู่ กลุ่ม การนับจำนวน

กิจกรรมนี้สรุปได้ว่า มีนักศึกษามาเรียนก่อนเวลา 08:30 น. เป็นจำนวน = 19 คน

การอ่านเลขของเด็กๆจะเป็นการเสริมทักษะทางภาษาของเด็กอีกด้วย

สัญลักณ์ทางคณิตศาสาตร์คือ  สัญลักษณ์ทางภาษา

การนับเลขปากปล่าว จะทำให้เด็กไม่รู้ความมหมายของเลขนั้นๆ ดังนั้น ควรสอนให้เด็กรู้ค่าของจำนวนมากกว่าการที่สอนแค่ให้ท่องจำนวนตัวเลขปากปล่าว

- การนับ เพื่อ
1.การนับเรียงลำดับเพื่อให้รู้ค่า
2.การนับเพิ่มจำนวนขึ้นไปเรื่อยๆซึ่งเป็นพื้นฐานทางการบวกเลข
3.การนับลดจำนวนลงไปเรื่อยๆซึ่งเป็นพื้นฐานทางการลบเลข



ภาพกิจกรรมการเรียนการสอน


งานที่ได้รับมอบหมาย

ให้นักศึกษาไปค้นคว้าหาหนังสือเกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็ก อย่างน้อย 5 เล่ม
-.หัวข้อคือ 
1.1 เรื่อง ความหมายของคณิตศาสตร์
1.2ทฤษฎีการจัดการสอนคณิตศาสตร์
1.3ขอบข่ายหรือเนื้อหาของคณิตศาสตร์
1.4หลักการสอนคณิตศาสตร์